วัฒนธรรมการดื่มของประเทศต่างๆ ว่าไม่ใช่แค่การดื่มสู่ปลายทางแห่งความมึนเมาเท่านั้น การดื่มยังสอดแทรกเรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกเช่นกัน เพื่อตอกย้ำว่าทำไมการดื่มถึงสำคัญ แม้ในช่วงวิกฤตเราก็ยังโหยหา
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มักจะเป็นประเด็นอ่อนไหวอยู่เนืองๆ ยิ่งในช่วงที่ต้องเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ผลพวงจากวิกฤิตโรคระบาดของ "โควิด-19" ซึ่งภาครัฐมีคำสั่งห้ามซื้อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้าน
แม้วันนี้จะมีมาตรการผ่อนคลาย ตั้งแต่การอนุญาตให้ซื้อขาย รวมถึงล่าสุด คืออนุญาตให้ "ดื่ม" ในร้านได้ตั้งแต่วันที่ 15 มิ.ย.เป็นต้นไป แต่ ผับ บาร์ โรงเบียร์ และร้านคาราโอเกะ ยังต้องระงับการเปิดต่อไปนั้น ถ้าจำกันได้ ช่วง 2 เดือนเศษที่ผ่านมา ดูจะเป็นประเด็นใหญ่มากสำหรับ "นักดื่ม" ต้องว่างเว้นจากน้ำเมาเหล่านี้ไป
"เครื่องดื่มแอลกอฮอล์" คือ วาระใหญ่ในชีวิตของเราขนาดนั้นจริงหรือ?
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ จึงชวนดูวัฒนธรรมการดื่มของประเทศต่างๆ ว่าไม่ใช่แค่การดื่มสู่ปลายทางแห่งความมึนเมาเท่านั้น การดื่มยังสอดแทรกเรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกเช่นกัน
- ดื่มแบบคนอังกฤษ
ประเทศที่มีการดื่มเป็นชีวิตจิตใจหนีไม่พ้น ‘ประเทศอังกฤษ’ รายงานของ World Health Organization ในปี 2015 พบว่าเฉลี่ยรวมทั้งประเทศแล้ว คนอังกฤษหนึ่งคนมีปริมาณการดื่มน้ำเมาอยู่ที่ 12 ถึง 14 ลิตร
เหตุผลส่วนใหญ่ที่ดื่มหนักกว่าคนประเทศอื่นๆ เหตุผลหลัก คือ ความเปิดกว้างในอุตสาหกรรมน้ำเมาทั้งหลาย เริ่มจากสภาพภูมิประเทศที่เอื้อให้ปลูกข้าวบาร์เลย์ (ส่วนผสมหลักของเบียร์) มากกว่าพืชชนิดอื่นๆ พร้อมทั้งคติความเชื่อที่เชื่อว่า เบียร์นั้นสะอาดกว่าน้ำเปล่า จากเหตุการณ์โรคระบาดผ่านทางน้ำ รวมถึงยังมีการพิสูจน์อีกว่าแคลอรี่ และโภชนาการของเบียร์มีประโยชน์ต่อคนทำงานและคนชนชั้นนำด้วย
นั่นจึงเปรียบเสมือนการปลูกฝังรากฐานของการเป็นนักดื่มตัวยงของชาวอังกฤษ นอกจากนี้ความสัมพันธ์ของเครื่องดื่มที่มีนัยด้านสังคม ก็ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นเหตุผลของการดื่มหนักเช่นเดียวกัน
งานวิจัย ‘ประโยชน์เชิงหน้าที่ของการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แต่พอดี’ (Functional Benefits of (Modest) Alcohol Consumption) จาก Springe Link สำรวจกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มในอังกฤษจำนวน 2,254 คน ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป พบว่า การดื่มของพวกเขาส่งผลให้แอลกอฮอล์กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน ดังนั้น พวกเขาจึงพร้อมที่จะสนทนากับเพื่อนพ้องและคนไม่รู้จักในผับบาร์ ซึ่งการพูดคุยของพวกเขาได้สร้างผลที่ดีต่อการกระชับความสัมพันธ์ ทำให้รู้สึกมีความสุขในชีวิตมากขึ้นและมีแนวโน้มที่จะเชื่อใจคนอื่นๆ ด้วย
เช่นเดียวกับ การวิจัยจากอังกฤษที่รวบรวมข้อมูลผ่านแอพพลิเคชันแมปปี้เนส (Mappiness) ที่ถูกพัฒนาโดย The London School of Economics and Political Science (LSE) พบว่า การดื่มแอลกอฮอล์เกี่ยวข้องกับความสุขที่มากขึ้น ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่น่าประหลาดใจแต่อย่างใด
แต่อีกสิ่งที่น่าสนใจคือ ในอีกนัยหนึ่ง นักวิจัยพบว่าการดื่มสังสรรค์กับเพื่อนไม่เพียงแต่เป็นสิ่งที่น่ายินดี แต่มันสามารถไปได้ไกลถึงขั้นบรรเทาความเจ็บปวดจากกิจกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การดื่มเพื่อกลบความเศร้า เป็นต้น
- NoMiKai ดื่มหลังเลิกงานของคนญี่ปุ่น
ภาพเหล่ามนุษย์เงินเดือนชาวญี่ปุ่นเมาแอ๋ตามถนน หรือนอนแถวสถานีรถไฟเพื่อรอรถไฟวิ่งในรอบเช้าของวันใหม่ กลายเป็นภาพไวรัลออนไลน์มานักต่อนัก เพราะระดับความเมาที่สุดเหวี่ยงภายใต้ชุดทำงานหรือชุดสูทดูขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง
วัฒนธรรมการดื่มของคนญี่ปุ่นเรียกว่า โนมิไก (NoMiKai) โดยคำนี้มาจากมาจากคำว่า ‘nomi’ (飲み) ที่แปลว่าดื่ม และ ‘kai’ (会) ที่แปลว่า งานรวม งานประชุม แปลรวมๆ แล้ว Nomikai แปลว่า งานสังสรรค์ที่เน้นการดื่มมากกว่าการกิน และเป็นการสังสรรค์กันหลังเลิกงาน
ที่มาของ Nomikai เกิดมาจากสภาพสังคมของญี่ปุ่น โดยเฉพาะสังคมการทำงานที่ทั้งหนักและกดดัน บางครั้งเหล่ามนุษย์เงินเดือนทั้งหลายก็อาจจะมีปัญหาอัดอั้นตันใจ พูดกับใครก็ไม่ได้ จะบอกหัวหน้าก็กลัวจะเกิดปัญหา เพราะญี่ปุ่นยึดถือลำดับขั้นและความอาวุโส ดังนั้น การมีชั่วโมง Nomikai ที่ทำให้เจ้านายไปเลี้ยงเหล้าลูกน้อง จึงถือเป็นการพักผ่อนและละลายพฤติกรรมในคราวเดียวกัน
นอกจากนี้ ชั่วโมง Nomikai ยังทำให้เกิดคำใหม่ขึ้นมาคือคำว่า Nominication เกิดจากการรวมคำว่า nomi (ดื่ม) และ communication (การสื่อสาร) เข้าไว้ด้วยกัน หลายๆ คนจึงเลือกที่จะใช้ชั่วโมง Nomikai เป็นชั่วโมงแห่งการปลดปล่อย พูดคุยสิ่งที่อัดอั้นอยู่ในเวลาทำงาน หรือจะเรียกว่า Nomikai คือชั่วโมงแห่งความสุขก็ว่าได้
แต่ก็ใช่ว่าการดื่มแบบ Nomikai จะเป็นเรื่องดีสำหรับทุกคน เพราะถ้าคนไหนปฏิเสธการดื่มนั้นถือว่าเป็นการไม่ให้เกียรติผู้ชวน หัวหน้า หรือแม้กระทั่งดูถูกบริษัท ดังนั้นแล้วใครที่ไม่อยากไปก็ต้องอยู่ในภาวะ “จำใจ” ไป ที่อาจจะพ่วงถึงปัญหาครอบครัวในภายหลังไปโดยปริยาย
- ดื่มเพื่อความสัมพันธ์และเจรจาธุรกิจของคนจีน
เครื่องดื่มอย่างเบียร์และเหล้ามีความสำคัญอย่างมากในวัฒนธรรมชาวจีน ตั้งแต่พิธีกรรมเกิดจนตายล้วนมีเหล้าเข้ามาเป็นส่วนประกอบทั้งสิ้น ตัวอย่างเช่นการไหว้เจ้า หรือพิธีเชงเม้ง ที่จะต้องมีเหล้าเป็นส่วนประกอบในพิธี
อีกสิ่งที่เด่นชัดของความสำคัญในการดื่ม คือ การทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการเจรจาธุรกิจบนโต๊ะอาหาร
หลายๆ ประเทศการรับประทานอาหารนั้นไม่ควรเสียงดัง และมีข้อจำกัดบางอย่าง ในขณะที่จีนนั้นตรงกันข้าม เพราะช่วงรับประทานอาหารและดื่มนั้นถือเป็นเวลาสำคัญในการเจรจา พูดคุยธุรกิจ
แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะคุยไปรับประทานไปหรือชนแก้วไปก็ได้ เพราะการเจรจาบนโต๊ะอาหารของชาวจีนนั้นถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้องมีขั้นตอน หรือกฎเหล็กให้ต้องปฏิบัติตาม
ชาวจีนจะไม่มานั่งชนน้ำเปล่า หรือเอาเหล้ามาแก้วเดียวจิบทั้งคืนพอเป็นพิธีแบบที่คนไทยนิยมทำ
..ไม่ดื่ม คือ ไม่ดื่ม แจ้งเจ้าภาพไปเลย
ตัวอย่างเช่น หากไม่ดื่ม ไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไรก็ให้แจ้งเจ้าภาพเสียก่อน เช่น ไม่ดื่มเพราะไม่สบาย มีโรคประจำตัว หรือเพราะถือศีลก็ให้บอกได้ เคล็ดลับที่สำคัญคือ ถ้าท่านไม่ดื่มก็ควรหาเพื่อนที่ดื่มเก่งพอสมควรมานั่งดื่มแทน และถ้าจะให้ดีควรเป็นสุภาพสตรีที่ดื่มได้จะทำให้เป็นการสร้างบรรยากาศที่ดีและเป็นการให้เกียรติเจ้าภาพ
หรือการที่ชาวจีนนิยมยกชูแก้วก่อนดื่มแล้วพูดว่า กานเปย คือ หมดแก้ว ดังนั้น ท่านต้องดื่มให้หมดแก้ว จะไม่มานั่งชนน้ำเปล่า หรือเอาเหล้ามาแก้วเดียวจิบทั้งคืนพอเป็นพิธีแบบคนไทยนิยมทำ ไม่ดื่มคือไม่ดื่มแจ้งเจ้าภาพไปเลย เขาไม่บังคับ ถ้ารอบนี้ไม่ดื่ม หากมีโอกาสได้ร่วมโต๊ะกันอีกก็ให้พาเพื่อนที่ดื่มได้มา
การเจรจาธุรกิจของชาวจีนจะ Deal หรือ No Deal ก็ขึ้นอยู่บนโต๊ะอาหาร และ เครื่องดื่มอย่างเหล้าก็เข้ามาทำหน้าที่เป็นตัวกลางอย่างขาดไม่ได้
- เบียร์เพื่อบำรุงศาสนาในเนเธอร์แลนด์
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถือเป็นข้อจำกัดในศาสนามาช้านาน แต่ไม่ใช่กับกลุ่มนักบวชกลุ่มหนึ่งในคริสตศาสนาที่ชื่อ ’แทรปปิสต์’ ที่ผลิตเบียร์เพื่อเป็นรายได้ของคณะสงฆ์
’แทรปปิสต์’ เป็นกลุ่มนักบวชที่เคร่งในการสวดภาวนา และดำรงชีพด้วยหลักการพอเพียง บวกกับมีกระบวนการจัดหาอาหารการกิน และรายได้ด้วยตนเอง โดยไม่แสวงหาผลกำไร พึ่งพาภายนอกให้น้อยที่สุด
เดิมทีกลุ่มนักบวชกลุ่มนี้อยู่ในประเทศฝรั่งเศส แต่ภายหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี 1789 กลุ่มนักบวชแทรปปิสต์กระจัดกระจายไปอยู่ทั่วยุโรป
ด้วยหลักการที่ยึดมั่น การจัดหารายได้เข้าอารามเป็นเรื่องที่จำเป็น นั่นทำให้เบียร์แทรปปิสต์ถือกำเนิดขึ้นมา เพื่อเป็นธุรกิจเลี้ยงชีพของแต่ละอารามของคณะสงฆ์แทรปปิสต์ในยุโรป รวมถึงในสหรัฐอเมริกาด้วย
ปัจจุบันมีอารามเพียง 14 แห่งของโลกเท่านั้น ที่ได้รับการยอมรับให้ใช้ชื่อคณะสงฆ์แทรปปิสต์ในการขออนุญาตประกอบกิจการ ผลิตเบียร์ยี่ห้อที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป
การผลิตเบียร์ภายใต้อารามหลวงนั้นต้องถูกควบคุมด้วย กฎ 3 ข้อ คือ
1. ต้องผลิตภายในรั้วกำแพงของอาราม และภายใต้การควบคุมของนักบวชแทรปปิสต์เท่านั้น เนื่องจากไม่อยากให้มีการค้ากำไรเกิดขึ้น และต้องการให้การผลิตผสานกับการสวดภาวนาในฐานะนักบวชเป็นหนึ่งเดียวกัน
2. กระบวนการผลิตรวมถึงแนวทางการทำงานจะต้องขึ้นตรงและถูกดูแลอย่างละเอียดโดยนักบวชแทรปปิสต์ โดยนักบวชผู้ผลิตเบียร์ลา ทร้าป ยึดถือมาตลอด นับตั้งแต่บาทหลวงดิซิโดรัสคิดค้นสูตรเบียร์ขึ้นในปี ค.ศ.1884
ปัจจุบันนักบวชแห่งอาราม เดอ โคนิงชูเว่น ยังคงผลิตลา ทร้าป ด้วยการใช้ส่วนผสมชั้นดีจากธรรมชาติ แม้แต่น้ำที่ใช้ผลิตก็ดึงมาจากบ่อน้ำในอารามซึ่งลึกกว่า 150 เมตร
3.การผลิตต้องมุ่งค้ำจุนอาราม การค้าขายและแสวงหาผลกำไรต้องตั้งอยู่บนความเหมาะสมและเป็นไปเพื่อการกุศล ซึ่งเป็นข้อสำคัญ
ปัจจุบันเบียร์ที่ผลิตโดยแทรปปิสต์นั้น ได้รับการยกย่องถึงความมีคุณภาพที่คนทั่วทั้งโลกต้องการลิ้งลอง
วัฒนธรรมการดื่มของแต่ละที่แต่ละประเทศนั้นมีความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับสังคมทั้งสิ้น ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทยเองก็การดื่มที่มีเอกลักษณ์เฉพาะเช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องผิดที่คนเราจะโหยหาการดื่ม แม้กระทั่งเกิดวิกฤิตโรคระบาด ก็ยังหยุดเรียกร้องไม่ได้
อ้างอิง :
June 13, 2020 at 07:33AM
https://ift.tt/3cZlYwH
ชวนดูวัฒนธรรมการดื่มของประเทศต่างๆ - กรุงเทพธุรกิจ
https://ift.tt/375SP1C
Bagikan Berita Ini
0 Response to "ชวนดูวัฒนธรรมการดื่มของประเทศต่างๆ - กรุงเทพธุรกิจ"
Post a Comment