Search

ภาคีวัฒนธรรมร่วมเสนอยุทธศาสตร์รวมพลังวัฒนธรรมพลิกวิกฤต เสนอรัฐเร่งช่วยเหลือศิลปิน - บ้านเมือง

liloeconomie.blogspot.com

วันศุกร์ ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2563, 21.09 น.

ภาคีวัฒนธรรมร่วมเสนอยุทธศาสตร์รวมพลังวัฒนธรรมพลิกวิกฤต เสนอรัฐเร่งช่วยเหลือศิลปิน 

ฟื้นฟูงานศิลปะวัฒนธรรม สร้างความร่วมมือกับเอกชนและภาคส่วนต่าง ๆ เปิดเทศกาลวัฒนธรรม

เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นำโดยสถาบันรามจิตติ ร่วมกับ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎธานี เครือข่ายวิจัยผู้ประกอบการรุ่นใหม่ทางวัฒนธรรมของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  (สกสว.) และเครือข่ายภาคีทางวัฒนธรรมร่วมจัดเวทีเสวนาเชิงยุทธศาสตร์ทางวัฒนธรรม ภายใต้โครงการ “วัฒนธรรมไทยในกระแสการเปลี่ยนแปลง จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)” เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ และให้ข้อเสนอแนะเพื่อนำไปพัฒนาแนวทางนโยบายและกรอบยุทธศาสตร์ในการพัฒนากลไกการบริหารจัดการงานศิลปวัฒนธรรมของภาครัฐ ให้รองรับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมหลังช่วงวิกฤตโรคระบาดในปัจจุบัน โดยมี ดร.จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ หัวหน้าโครงการวิจัย ร่วมด้วย ดร.นันธิดา จันทรางศุ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล และ ดร.สกาวรุ้ง สายบุญมี นักวิชาการอิสระ เป็นผู้ดำเนินรายการเสวนา มีภาคีเครือข่ายภาควัฒนธรรม ทั้งภาควิชาการด้านภาษาและวัฒนธรรม การละครและดนตรี ศิลปกรรมศาสตร์ นิเทศศาสตร์ และวิชาชีพศิลปะการแสดง อุปนายกสมาคมอุปรากรจีน ศิลปินลิเก นักประพันธ์ดนตรี ประกอบภาพยนตร์-ละครโทรทัศน์ กวี นักเขียน สื่อ บรรณาธิการข่าวสถานีโทรทัศน์ ผู้ประกอบการธุรกิจจากภาคเอกชน ผู้จัดงานเทศกาลดนตรี ผู้จัดงานคอนเสิร์ตดนตรีกลุ่มชาติพันธุ์ งานนิทรรศการ และพิพิธภัณฑ์ ร่วมประชุมเสวนาดังกล่าว 

ในเวทีดังกล่าว ดร.จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ และคณะวิจัย ได้เปิดประเด็นเสวนาโดยนำเสนอภาพรวมความเคลื่อนไหวของงานศึกษาวิจัย ซึ่งชี้ถึงผลกระทบของสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม โดยหลายประเทศได้ปรับตัวใช้ชีวิตในวิถีปกติใหม่ (New Normal) และยังพบนโยบายและยุทธศาสตร์ทางวัฒนธรรมเพื่อฟื้นฟูภาควัฒนธรรมและขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ เช่น การให้เงินทุนสนับสนุนเพื่อการฟื้นฟูเยียวยา ศิลปิน และผู้ทำงานวัฒนธรรม ตลอดจนภาคอุตสาหกรรมวัฒนธรรมและสร้างสรรค์ ไปจนถึงการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสร้างแพลตฟอร์มการเรียนรู้และเข้าถึงวัฒนธรรมในวิถีปกติใหม่  และการพัฒนานิเวศวัฒนธรรมใหม่ท่ามกลางสถานการณ์ความท้าทายจากโรคระบาดและความไม่แน่นอนในอนาคต 

ในการนี้ผู้เข้าร่วมเสวนาได้แลกเปลี่ยนสะท้อนให้เห็นผลกระทบของภาควัฒนธรรมในประเทศไทยอันเนื่องมาจากสถานการณ์โควิด-19 เช่น  ซึ่งทั้งนักวิชาการ นายกสมาคมอุปรากรจีน ศิลปินลิเก ภาคเอกชนและกลุ่มผู้จัดงานมหกรรมศิลปะ วัฒนธรรมและเทศกาลต่าง ๆ ชี้ถึงผลกระทบร่วมกันว่า เกิดภาวะหยุดชะงักของการจ้างงานและปิดการแสดง หลายกลุ่มต้องปรับตัวเพื่อการอยู่รอดในท่ามกลางสถานการณ์วิกฤต  เช่น แสดงลิเกออนไลน์คล้องพวงมาลัยไร้สาย ปิดการแสดงไปประกอบอาชีพแม่ค้าขายอาหารหรือขายของ ไปจนถึงกลุ่มองค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องใช้ศักยภาพการปรับตัวผ่านเครื่องมือและแพลตฟอร์มดิจิทัล  ดังที่  ดร.สุรัตน์ จงดา ผู้ช่วยอธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ หัวหน้าคณะ “ไก่แก้วการละคร” กล่าวว่า “...โควิดสร้างผลกระทบเป็นลูกโซ่ตั้งแต่พฤษภา-มิถุนา จนต้องเปลี่ยนไปทำอย่างอื่น หรือหันมาขายอาหารกันหมด ภาครัฐก็มีส่งเสริม แต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องการเข้าถึงแหล่งทุน...” 

ทั้งนี้ หลายฝ่ายเห็นว่า วิกฤตจากโควิด-19 ส่งผลกระทบหลายภาคส่วน อย่างไรก็ตามผู้ร่วมเสวนาเห็นว่า ประเทศไทยมีจุดแข็งทางวัฒนธรรมอยู่หลายด้าน ซึ่งยังมองโอกาสที่จะใช้งานทางวัฒนธรรมสร้างความเข้มแข็งและรายได้ให้กับประเทศแต่ต้องรีบเร่งยุทธศาสตร์สร้างการฟื้นตัวทางวัฒนธรรม โดยหลายฝ่ายได้ร่วมนำเสนอทางออกโดยการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ทางวัฒนธรรมเป็นพลังฝ่าวิกฤตดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อเสนอต่อกระทรวงวัฒนธรรม 

1) เร่งดำเนินนโยบายและยุทธศาสตร์ฟื้นฟูเยียวยาศิลปิน และคนทางทำงานวัฒนธรรมทุกกลุ่มอย่างทั่วถึง อาทิ งบช่วยเหลือฟื้นฟู ไปจนถึงความร่วมมือกับภาคเอกชนจัดงานแสดงทางศิลปะ วัฒนธรรม ทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น ให้กระจายในพื้นที่ต่าง ๆ (ภายใต้ความปลอดภัยและวัฒนธรรมสุขภาพวิถีใหม่)  

2) การรวมพลังความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการและภาคปฏิบัติการทางวัฒนธรรมในการขับเคลื่อนงาน ผ่านการสร้างแพลตฟอร์มวัฒนธรรมในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งดิจิทัลแพลตฟอร์มไปจนถึงงานแพลตฟอร์มเครือข่าย ควรมี “หน่วยประสาน” หรือผู้เป็น “สื่อกลางทางวัฒนธรรม” ให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างคน-ความรู้-“ของ”/ผลงาน  ให้ชุมชนใช้วัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นทุนทางสังคมที่สามารถ ฟื้นฟูงานวัฒนธรรมและขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้กับประเทศ

3) ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ “พื้นที่ทางวัฒนธรรม” พื้นที่สร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม พื้นที่สาธารณะทางวัฒนธรรม (Cultural public space)   เพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมทางวัฒนธรรมที่หลากหลายในรูปแบบใหม่ๆ ที่เชื่อมโยงทั้งระดับท้องถิ่น ประเทศ และสู่สากล 

ดร.จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ กล่าวว่า เวทีดังกล่าวได้สะท้อนบทเรียนและประสบการณ์การทำงานที่มิใช่เพียงแค่ช่วงการปรับตัวรับมือกับสถานการณ์โควิด แต่ชี้ถึงความท้าทายของกระบวนทัศน์ใหม่ของการขับเคลื่อนงานทางวัฒนธรรมซึ่งคือเรื่องเดียวกับการดำเนินชีวิตและการสร้างอนาคตที่ดีของประเทศไทย  โดยแง่คิดที่ทุกท่านสะท้อนร่วมคือ ขับเคลื่อนงานดังกล่าวนอกจากจะต้องอาศัยกลไกความร่วมมือทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคีต่าง ๆ แล้ว หัวใจสำคัญคือ “วัฒนธรรมของการสื่อสารอย่างกัลยาณมิตรและสร้างสรรค์” ซึ่งเป็นเครื่องมือทำงานที่สำคัญเสมอไม่ว่าจะในสถานการณ์วิกฤตหรือปกติ สิ่งนี้เป็น Soft skill ของคนทำงาน เพราะงานศิลปวัฒนธรรมเป็นงานที่ต้องอาศัยพลังแบบ Soft power ที่ต้องสร้างการมีส่วนร่วม ต้องเรียนรู้ และต้องยืดหยุ่นปรับตัวบนทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่มีหลากหลายแบบ ที่สำคัญเป็นพลังที่จะสร้างผลกระทบสูง (Hight Impact) ของการเติบโตและการสร้างสรรค์งานวัฒนธรรมเพื่ออนาคต ซึ่งเป็นโจทย์ท้าทายของการทำงานในสถานวิกฤตและเป็นโอกาสสำคัญที่น่าจะต้องพัฒนาให้เกิดขึ้นในวัฒนธรรมองค์กรและวัฒนธรรมการทำงานร่วมกันในสังคมไทย โดยสถาบันรามจิตติร่วมกับภาคเครือข่ายวัฒนธรรมจะได้รวบรวมข้อเสนอดังกล่าวเพื่อเสนอต่อหน่วยนโยบายและยุทธศาสตร์ และภาคีต่าง ๆ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนวัฒนธรรมต่อไป

Let's block ads! (Why?)




September 11, 2020 at 09:09PM
https://ift.tt/2FoGBHr

ภาคีวัฒนธรรมร่วมเสนอยุทธศาสตร์รวมพลังวัฒนธรรมพลิกวิกฤต เสนอรัฐเร่งช่วยเหลือศิลปิน - บ้านเมือง

https://ift.tt/375SP1C


Bagikan Berita Ini

0 Response to "ภาคีวัฒนธรรมร่วมเสนอยุทธศาสตร์รวมพลังวัฒนธรรมพลิกวิกฤต เสนอรัฐเร่งช่วยเหลือศิลปิน - บ้านเมือง"

Post a Comment

Powered by Blogger.