จ.ชลบุรี เป็นหนึ่งในชุมชนที่มีวิถีชีวิตแบบพอเพียง รักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีไทยไว้ได้อย่างน่าชื่นชม ทำให้มีการพัฒนาชุมชนตะเคียนเตี้ยให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มีกิจกรรมหลากหลายทั้งการปั่นจักรยานชมสวนมะพร้าว พืชเศรษฐกิจชุมชน ชมบ้านร้อยเสาที่สวยงาม รวมไปถึงการลิ้มลองอาหารพื้นถิ่น หากินได้ในชุมชนเท่านั้น เช่น แกงไก่กะลา ขนมทองพับแสนอร่อย รวมถึงกาแฟมะพร้าว นำน้ำกระทิมาชงในกาแฟ ทำให้ได้รสชาติหวานหอมละมุน ซึ่งปัจจุบันชุมชนผลิตเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมด้วย แต่ยังพบปัญหาการออกแบบผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว ให้ดึงดูดใจให้คนซื้อมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องพัฒนาและให้ความสำคัญ และความโดดเด่นของชุมชนตะเคียนเตี้ย ทำให้องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ยกให้เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวพิเศษ
ล่าสุด สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย(สศร.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ได้เซ็นเอ็มโอยู ร่วมกับ อพท. เพื่อร่วมกันยกระดับผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษของ อพท. ที่ดำเนินการด้วยต้นทุนทางวัฒนธรรม โดยชุมชนตะเคียนเตี้ยเป็นหนึ่งในชุมชนตัวอย่าง ที่จะนำร่องโครงการความร่วมมือดังกล่าว และเป็น1ใน 6พื้นที่เป้าหมายของโครงการ เพราะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยความคิดสร้างสรรค์ ดึงมะพร้าวซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของหมู่บ้านเชื่อมโยงกับสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมในท้องถิ่น และทางชุมชน ยังมีแนวคิดพัฒนาไม่หยุด ตั้งเป้าให้พื้นที่แห่งนี้ กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดฮิตของจ.ชลบุรี ไม่แพ้พัทยา หรือแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ ในจ.ชลบุรี มากกว่าที่เคยรับรู้ ความร่วมมือดังกล่าวยังขยายไปถึงการส่งเสริมโครงการฯ ในพื้นที่อีก 2 จังหวัด คือ ที่ จ.น่าน และ จ.สุพรรณบุรี ซึ่งกำลังผลักดันเป็นเมืองสร้างสรรค์โลกยูเนสโกในปี 2564 อีกด้วย
วธ. และอพท. ลงนามความร่วมมือส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษ
อิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า สศร. ได้ดำเนินโครงการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัยเพื่อต่อยอดทุนทางวัฒนธรรม โดยการนำองค์ความรู้ด้านศิลปะร่วมสมัยทุกแขนงมาออกแบบและสร้างสรรค์สินค้าและบริการทางวัฒนธรรม ร่วมกับนำภูมิปัญญาท้องถิ่น และแนวคิดใหม่ๆ จากศิลปินร่วมสมัย ศิลปินศิลปาธร และศิลปินรุ่นใหม่ ช่วยพัฒนาต่อ ผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษด้วยต้นทุนทางวัฒนธรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแหล่งท่องเที่ยวรวม 38 จังหวัด โดยจะส่งเสริมการพัฒนาตราสินค้าบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์พื้นเมือง ของที่ระลึก พัฒนาชุมชนสู่แหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ พร้อมสร้างองค์ความรู้ให้แก่นักท่องเที่ยวด้วยการมีส่วนร่วมในชุมชน ตลอดจนพัฒนาวิถีชีวิต สืบสาน และเผยแพร่ประเพณีและวัฒนธรรมให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น สาระสำคัญของ MOU ครั้งนี้ทั้ง 2 หน่วยงานจะส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวจากต้นทุนทางวัฒนธรรมด้วยความคิดเชิงสร้างสรรค์ ร่วมพัฒนาขีดความสามารถในการสร้างความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษของ อพท. และนำไปสู่การใช้ประโยชน์สำหรับผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยและการประยุกต์ไปสู่ การสร้างผลิตภัณฑ์ให้เกิดการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของชุมชนอย่างยั่งยืน
เครื่องเงิน เครื่องทองสุโขทัย ต้นทุนทางวัฒนธรรมพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่
อิทธิพล กล่าวว่า ประโยชน์จากการลงนามจะส่งเสริมการสร้างผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวให้เกิดแนวคิดและผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ที่มีความหลากหลาย โดยไม่หลงลืมเอกลักษณ์วัฒนธรรม นำองค์ความรู้ด้านการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของ สศร. มาช่วยเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายในพื้นที่พิเศษของ อพท. เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ต้นทุนทางวัฒนธรรม สร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการสร้างงาน สร้างอาชีพ ยกระดับมาตรฐานของผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยสู่สากล เริ่มจากพื้นที่เป้าหมาย แล้วจะขับเคลื่อนทั่วประเทศ
บทบาทของ สศร. ในโครงการ วิมลลักษณ์ ชูชาติ ผู้อำนวยการสานักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เผยว่า สศร. เล็งเห็นถึงความสำคัญของทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นต้นน้ำสามารถนำมาพัฒนา ต่อยอด เพื่อสร้างคุณค่าทางสังคมและมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ ด้วยการนำองค์ความรู้ด้านศิลปะร่วมสมัยมาออกแบบและสร้างสรรค์ให้สินค้าและบริการ ทางวัฒนธรรม และนำไปขยายผลให้แก่ชุมชนเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในการปรับใช้ ทุนทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ รวมถึงสนับสนุนการท่องเที่ยวในท้องถิ่น สำหรับพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวจากเอ็มโอยูครั้งนี้ มีเป้าหมายใน 6 พื้นที่ ประกอบด้วย จังหวัดระยอง นำอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของจังหวัดและอำเภอ ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพสร้างแนวทางการพัฒนาและออกแบบภาพลักษณ์จังหวัดอย่างชัดเจน รวมถึงผู้ประกอบการโรงแรมนำอัตลักษณ์มาเป็นแรงบันดาลใจต่อยอดดำเนินธุรกิจอย่างมีสไตล์ ส่วนจังหวัดสุโขทัย ผู้ประกอบการ อาทิ สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพจังหวัดสุโขทัย ใช้ความคิดสร้างสรรค์ผสมผสานกับอัตลักษณ์ของชุมชนและศิลปะร่วมสมัย นำไปต่อยอดงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านของจังหวัด โดยเฉพาะเครื่องเงิน เครื่องทองสุโขทัย และผ้าทอศรีสัชนาลัย ออกแบบให้ร่วมสมัยมากขึ้น ช่วยสร้างคุณค่าและมูลค่าทางเศรษฐกิจ
กาแฟมะพร้าว ชุมชนตะเคียนเตี้ย อ.บางละมุง จ.ชลบุรี
ผอ.สศร.กล่าวอีกว่า ยังมีอีกพื้นที่พิเศษ คือ จังหวัดเชียงราย ที่ วธ.ผลักดันให้เป็นเมืองศิลปะ ผู้ประกอบการมีการใช้อัตลักษณ์ที่มาจากโครงการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัยเพื่อต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมมาสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีความร่วมสมัยและสะท้อนอัตลักษณ์ชุมชนอย่างโดดเด่น เช่น ออกแบบลายผ้าทอไทลื้อและผ้าทอกลุ่มชาติพันธุ์ เพิ่มสีสันให้มีความทันสมัย ภายใตัชื่อ “พัชรแบรนด์” เสื้อผ้าแฟชั่นผ้าไทยถูกใจผู้พบเห็น ไม่ใช่แค่เฉพาะผู้ใหญ่เท่านั้น แต่ยังดีไซน์ร่วมสมัยเหมาะกับวัยรุ่น
" ส่วนชุมชนตะเคียนเตี้ย จังหวัดชลบุรี กลุ่มวิสาหกิจชุมชนก็เข้มแข็งอนุรักษ์แหล่งเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยมีมะพร้าวเป็นอัตลักษณ์ ที่เชื่อมโยงทั้งหมดเข้าด้วยกัน เป็นวิถีไทย ทั้งวิถีชีวิตปกติ ที่ยึดโยงกับมะพร้าว อาหารการกิน และเอ็มโอยู เราจะมาช่วยออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟมะพร้าว ผลิตภัณฑ์น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ขนมไทยที่เป็นโอท็อป 4ดาว ซึ่งพื้นที่พิเศษจะเปิดกว้างให้ 2 หน่วยงาน ทดลอง แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านศิลปะร่วมสมัย ประยุกต์สร้างสินค้าใหม่ “ วิมลลักษณ์ กล่าว
September 08, 2020 at 11:27AM
https://ift.tt/2ZdhjTx
'สศร.- อพท.' ผนึกกำลังมูฟออนแหล่งท่องเที่ยวพื้นที่พิเศษ - ไทยโพสต์
https://ift.tt/375SP1C
Bagikan Berita Ini
0 Response to "'สศร.- อพท.' ผนึกกำลังมูฟออนแหล่งท่องเที่ยวพื้นที่พิเศษ - ไทยโพสต์"
Post a Comment