Search

ตั้ง คกก. 'จรัลรำลึก' มุ่งเผยแพร่งานวัฒนธรรมในวาระ 20 ปี 'จรัล มโนเพ็ชร' - ประชาไท

liloeconomie.blogspot.com

เสวนา "มรดกของจรัล มะโนเพ็ชร" สะท้อนผลงาน ‘จรัล’ เผยแพร่ล้านนาคดีผ่านงานวัฒนธรรม - คณะกรรมการ 'จรัลรำลึก' เผยความคืบหน้าสร้างอนุสาวรีย์จรัล มโนเพ็ชร ศิลปินโฟล์คซองภาคเหนือ มุ่งเป้าระดมทุนผ่านกิจกรรมหลากหลายทั้งเสวนาออนไลน์ และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ตั้งเป้าระดมทุนก่อนถึงงานครบรอบ 20 ปีการจากไปของจรัลในปี 2564

7 มิ.ย. 63 - กรณีภาคประชาสังคมในภาคเหนือ เริ่มระดมทุนเพื่อสร้างอนุสาวรีย์จรัล มโนเพ็ชร ศิลปินล้านนา ในโอกาสครบรอบ 20 ปี หรือ 2 ทศวรรษแห่งการรำลึกถึง จรัล มโนเพ็ชร ที่จะถึงในวันที่ 3 กันยายน 2564 นั้น ธเนศวร์ เจริญเมือง ศาสตราจารย์เกียรติคุณ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยกับมติชนออนไลน์เมื่อ 26 พ.ค. ถึงความคืบหน้าว่าเขาได้ร่วมกับ วสันต์ จอมภักดี ประธานคณะกรรมการประสานงานอนุรักษ์แม่ปิงและสิ่งแวดล้อม (คอปส.) และแสวง มาละแซม นักประวัติศาตร์ท้องถิ่น ตั้งคณะกรรมการจรัลรำลึก เพื่อสร้างอนุสาวรีย์จรัล มโนเพ็ชร โดยเริ่มระดมทุนมาตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคมนี้

สำหรับแนวคิดจัดสร้างอนุสาวรีย์จรัล มโนเพ็ชร เพื่อรำลึกถึงปูชนียบุคคลที่สร้างผลงานทางวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น พร้อมเชิดชูผลงานทั้งบทกวี บทเพลง เพลงประกอบละคร และผลงานการแสดง ให้ชาวไทยได้ประจักษ์ ซึ่งได้สร้างแรงบันดาลใจให้แก่อนุชนรุ่นหลัง

คณะกรรมการจรัลรำลึกดังกล่าว แบ่งออกเป็น 4 ฝ่าย คือ คณะกรรมการจัดหาทุนสร้างอนุสาวรีย์ คณะกรรมการออกแบบและภูมิสถาปัตย์ คณะกรรมการสถานที่จัดสร้าง และคณะกรรมการประชาสัมพันธ์ เพื่อดำเนินกิจกรรมระดมทุนในรูปแบบต่างๆ ทั้งการจำหน่ายหนังสือทางวิชาการ เสวนา การแสดงดนตรีและศิลปะต่างๆ

เสวนา "ล้านนา: ตะวา วันนี้ วันพูก" ครั้งที่ 4 ในหัวข้อ "มรดกของจรัล มะโนเพ็ชร"

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ล่าสุดวันอาทิตย์นี้ (7 มิ.ย.) ตั้งแต่เวลา 13.30-16.00 น. มีการจัดกิจกรรมเสวนา "ล้านนา: ตะวา วันนี้ วันพูก" ครั้งที่ 4 ในหัวข้อ "มรดกของจรัล มะโนเพ็ชร" ต่อล้านนาและสังคมไทย ร่วมเสวนาโดย บฤงคพ วรอุไร เสวนาหัวข้อ "ดนตรีล้านนาร่วมสมัย", สมฤทธิ์ ลือชัย เสวนาหัวข้อ "วัฒนธรรมคนเมือง", วสันต์ ปัญญาแก้ว เสวนาหัวข้อ "มานุษยวิทยา" ชยันต์ วรรธนะภูติ เสวนาหัวข้อ "สังคมวิทยาและการศึกษา" ดำเนินรายการโดย ธเนศวร์ เจริญมือง โดยเผยแพร่เสวนาทางเฟสบุ๊คเพจ เวทีเสวนากำเมืองออนไลน์

สมฤทธิ์ ลือชัย กล่าวตอนหนึ่งว่า จรัล มะโนเพ็ชร ทำงานวัฒนธรรมโดยพื้นฐานของการอ่านและเรียนรู้ เช่น จรัล มะโนเพ็ชร จรัลอ่านงานของปราณี ศิริธร ณ พัทลุงจำนวนมากและกลายเป็นเพลงมะเมียะ หรือเดินทางไปเชียงรายเพื่อศึกษาเรื่องพิณเพียะ เรื่องนี้หมายความว่า ถ้าคุณจะทำงานต้องค้นคว้าศึกษา อยู่ดีๆ เป็นคนเก่งเป็นไปไม่ได้

ความน่าสนใจอีกประการคือจรัลได้ทำงานอนุรักษ์ สร้างสรรค์ และเผยแพร่วัฒนธรรม แต่เป็นวัฒนธรรมผสมหรือไฮบริด เพื่อให้เกิดมีการเติบโต ขยาย และเข้ากับกาลเวลา เช่น การนำดนตรีโฟล์คซองแต่มาเล่นทำนองสะล้อซอซึง และเนื้อเพลงมีเนื้อหาอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ก็ทำให้คนร่วมสมัยกลับมาฟังเพลงซอ น้อยไชยา ซึ่งแต่เดิมเนื้อหาแพร่หลายอยู่ในกลุ่มคนเรียนนาฏศิลป์พื้นเมืองเท่านั้น

นอกจากนี้จรัล ยังกำหนดเป้าหมายเผยแพร่วัฒนธรรม เพื่อนำเสนอกับคนภาคอื่น เช่นแต่งเพลง ของกิ๋นบ้านเฮา ก็เพื่อจะบอกคนภูมิภาคอื่นว่าคนภาคเหนือมีของกินอะไรบ้าง

สร้างวัฒนธรรมให้เป็นสินค้า เวลาไปกินข้าวเฮือนสุนทรี เขาไปกินข้าว หรือไปฟังสุนทรีร้องเพลง เพลงที่ฟังอยากฟังมะเมียะ เป็นงานวัฒนธรรมที่เป็นสินค้า

ทั้งนี้คณะกรรมการจรัลรำลึกตั้งเป้าระดมทุนให้ได้ 5 แสนบาทภายในสิ้นปี 2563 เพื่อให้เริ่มกระบวนการสร้างอนุสาวรีย์ภายในเดือนมกราคม 2564 ให้แล้วเสร็จทันงานครบรอบ 20 ปีรำลึกการจากไปของจรัล มโนเพ็ชร ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถบริจาคผ่านธนาคารไทยพาณิชย์ เลขที่บัญชี 667-434933-7

สำหรับจรัล มโนเพ็ชร เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2494 ที่ย่านประตูเชียงใหม่ เป็นนักดนตรีโฟล์คซองที่มีชื่อเสียง โดยในช่วงต้นทศวรรษที่ 2520 เขาใช้กีตาร์ และแมนโดลิน มาแทนเสียงซึง และใช้เครื่องดนตรีสมัยใหม่บรรเลงเพลงเก่าแก่ของล้านนาในแบบฉบับโฟล์คซองคำเมือง ทั้งนี้เพลงที่มีชื่อเสียงเป็นภาษาถิ่น อาทิ น้อยไจยา, เสเลเมา, อุ๊ยคำ, สาวมอเตอร์ไซค์, ของกิ๋นคนเมือง ฯลฯ รวมทั้งเพลงภาษาไทย เช่น คิดถึงบ้าน, รางวัลแด่คนช่างฝัน, ให้ฉันฝันต่อ นอกจากนี้เขายังมีผลงานแสดงภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์หลายเรื่อง

จรัลเสียชีวิตที่บ้านพักใน จ.ลำพูน เมื่อ 3 กันยายน 2544 สิริอายุ 50 ปี โดยไม่ทันได้ร่วมแสดงในคอนเสิร์ต 25 ปี โฟล์คซองคำเมือง ซึ่งกำหนดจัดวันที่ 25 ตุลาคม 2544 ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

สำหรับข้อเสนอสร้างอนุสาวรีย์สำหรับจรัล มโนเพ็ชร เริ่มต้นมาตั้งแต่ 5 กันยายน 2549 ในโอกาสครบรอบ 5 ปี การจากไปของจรัล โดยนักวิชาการและศิลปินเชียงใหม่ 36 รายชื่อ ได้เสนอให้เทศบาลนครเชียงใหม่ พิจารณาสร้างอนุสาวรีย์ โดยบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่ในเวลานั้น ระบุว่า เห็นด้วยกับข้อเสนอและกำลังคิดวางแผนว่าจะสร้างอนุสาวรีย์บริเวณไหน

ต่อมาเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2549 นายกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่ ได้มอบหมายให้มนัส ศิริมหาราช รองนายกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่ เชิญนักวิชาการ ศิลปิน และผู้เกี่ยวข้องร่วมกันหารือเกี่ยวกับการสร้างอนุสาวรีย์เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่จรัล มโนเพ็ชร ที่ห้องประชุม หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ อย่างไรก็ตามหลังจากนั้นยังไม่มีความคืบหน้า

Let's block ads! (Why?)




June 07, 2020 at 02:41PM
https://ift.tt/2Mzkle7

ตั้ง คกก. 'จรัลรำลึก' มุ่งเผยแพร่งานวัฒนธรรมในวาระ 20 ปี 'จรัล มโนเพ็ชร' - ประชาไท

https://ift.tt/375SP1C


Bagikan Berita Ini

0 Response to "ตั้ง คกก. 'จรัลรำลึก' มุ่งเผยแพร่งานวัฒนธรรมในวาระ 20 ปี 'จรัล มโนเพ็ชร' - ประชาไท"

Post a Comment

Powered by Blogger.