สมาคม หนังสือ วัฒนธรรม(83) - ตัดจากเรื่องรัก เรื่องสมรส มายังการทำงาน หากพิจารณาจากการประมวลของ ทวีป วรดิลก บทบาทของเหมามีความโดดเด่นตั้งแต่เมื่อปี 1919 มาแล้ว โดยเฉพาะการพุ่งเป้าโจมตีขุนศึก
ไม่ว่าจะเป็นขุนศึกในมณฑลหูหนาน ไม่ว่าจะเป็นขุนศึกในมณฑลอื่น
เมื่อนิตยสาร “เซียงเจียงผิงลุ่น” ถูกปิดด้วยคำสั่งจางจิ้งเหยา เหมาเขียนบทความให้แก่นิตยสารที่ออกใหม่อีกฉบับหนึ่งชื่อ “ซินหูหนาน”(หูหนานใหม่)และหนังสือพิมพ์ “ต้ากุงเป้า”
ข้อเขียนของเหมายังคงโจมตี “ขุนศึกกับคนทรยศทั้งหลาย” อย่างดุเดือด
ผลที่สุด “ซินหูหนาน”ถูกปิดในเดือนธันวาคม 1919 โดยคำสั่งของจางจิ้งเหยาเช่นกัน ข้อที่น่าสังเกตประการหนึ่งสำหรับข้อเขียนของเหมาในระยะกาลนี้ก็คือ
นับแต่เริ่มแรกเหมาเรียกร้องสิทธิเสมอภาคระหว่างบุรุษ สตรี เสมอมา
บทความใน “เซียงเจียงผิงลุ่น”ฉบับแรกก็ได้เขียนเกี่ยวกับผู้หญิงคือ “กองทัพปฏิวัติของสตรี” ซึ่งมีแรงสะเทือนไปยังสตรีทั้งหลายอย่างคึกคัก
กระทั่งนำไปสู่การจัดตั้ง “พันธมิตรนักเรียนสตรี” ขึ้น
การต่อสู้อย่างเข้มข้นในหูหนานนั่นเองผลักดันให้เหมาต้องเดินทางไปปักกิ่ง การเดินทางไปเยือนปักกิ่งหนที่ 2 ได้กลายเป็นจุดตัดและ “เส้นแบ่ง” อย่างสำคัญ ไม่เพียงแต่ในเรื่องของ “ความรัก” หากแต่ยังในเรื่องของ “ความคิด”
จากด้านความรักได้นำไปสู่การแต่งงานในปลายปี 1920 จากด้านความคิดโดยเฉพาะการพบกับหลี่ต้าเจา เฉินตุ๊ซิ่ว ทำให้ตกผลึกในเรื่องการงานและการเคลื่อนไหวทางการเมือง วัฒนธรรม
เหมาเดินทางกลับฉางซาตอนกลางปี 1920 พร้อมกับการเปลี่ยนแปลง
เป็นการเปลี่ยนแปลงอันอิทธิพลของจางจิ้งเหยาหมดไป ครูเก่าของเหมาได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนสามัญ ฉางซา
ได้ใช้อิทธิพลแต่งตั้งเหมาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนชั้นประถมในวันที่ 7 กรกฎาคม 1920
อีก 3 สัปดาห์ต่อมา เหมาก็ได้แถลงต่อหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นว่า จะได้ก่อตั้งสมาคม อันเป็นการสืบสานความฝันหนึ่งในหลายประการ ของตน
นั่นก็คือ “สมาคมหนังสือวัฒนธรรม”
ในบรรดาชาวมณฑล หูหนาน 30 ล้านจะมีสักกี่คนที่มีความรู้และการศึกษาถึงขั้นจบจากโรงเรียน สำหรับผู้ที่มีการศึกษาก็ยิ่งมีน้อยคนลงไปอีก
ที่จัดว่าเป็น “ผู้รู้หนังสือที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ในการให้การศึกษา”อยู่
แล้วในบรรดาผู้รู้หนังสือในหูหนานมีสักกี่คนที่มีความรู้ในเรื่อง “วัฒนธรรมใหม่” โดยที่วัฒนธรรมใหม่ไม่ได้หมายความเพียงแค่ว่าเคยอ่านหนังสือ
หรือได้ยิน ได้ฟัง คำศัพท์ใหม่ 2-3 คำ
ในความเห็นของ ทวีป วรดิลก ความจริง ส่วนใหญ่ในโลกนี้ไม่เฉพาะแต่เพียงในหูหนานเท่านั้นที่ไม่มีความรู้ในเรื่องของ “วัฒนธรรมใหม่” กันเลย
ต่อปัญหานี้เหมาก็ได้ยืนยันถ้อยคำที่เป็นข้อสรุปทิศทางของแนวคิดของตนว่า
“การเบ่งบานของบุปผาแห่งวัฒนธรรมใหม่เพียงไม่กี่ดอกก็ได้ปรากฏขึ้นแล้วในรัสเซียบนฝั่งแห่งอาร์กติก” สมาคมหนังสือวัฒนธรรมคือรูปธรรมแสดงว่าบุปผาแห่งวัฒนธรรมจะเบ่งบานในหูหนาน
นี่คืออิทธิพลอันเป็นผลสะเทือนโดยตรงจาก “มหาปฏิวัติ เดือนตุลาคม 1917”
นี่คือความพยายามในการเก็บรับและต่อยอดในทางวัฒนธรรม ไม่เพียงแต่จากในทางสากล หากที่สำคัญก็คือ การขยายผลดอกผลจากการเกิดขึ้นของวัฒนธรรมใหม่อันส่งมาจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง
ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งของ “ขบวนการ 4 พฤษภาคม 1919”
อาจเป็นเพราะเหมาสนใจในเรื่องของวัฒนธรรม ไม่ว่าจะโดยพื้นฐานการเป็นครู ไม่ว่าจะโดยพื้นฐานความสนใจในประวัติศาสตร์และวรรณคดีโบราณ
จึงได้นำไปสู่การจัดตั้ง “สมาคมหนังสือวัฒนธรรม”แห่งนครฉางซาขึ้น
นี่คือวิถีดำเนินของเหมาอันขยายผลจากความสามารถในการบริหารจัดการในห้วงที่เป็นนักเรียน นักศึกษา เป็นความสามารถที่หยางชางจี้ สีเท่อลี่มองเห็น
นี่คืองาน “การเมือง” บนพื้นฐานแห่งงาน “วัฒนธรรม” นับแต่ปี 1920 เป็นต้นไป
August 04, 2020 at 02:05PM
https://ift.tt/31hTNVW
วิถีแห่งอำนาจ เหมาเจ๋อตง - สมาคม หนังสือ วัฒนธรรม(83) - ข่าวสด
https://ift.tt/375SP1C
Bagikan Berita Ini
0 Response to "วิถีแห่งอำนาจ เหมาเจ๋อตง - สมาคม หนังสือ วัฒนธรรม(83) - ข่าวสด"
Post a Comment